ภาพประติมากรรม


1 ความคิดเห็น:

  1. ประติมากรรมไทยส่วนใหญ่ มีจุดประสงค์ในการสร้างขึ้น ด้วยศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูป ในสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปั้น หล่อ หรือแกะสลัก อีกส่วนหนึ่งสำหรับใช้เป็นเครื่องประกอบ ตกแต่งปราสาทราชวังและเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับพระมหากษัตริย์
    ประติมากรรมไทยแบ่งได้เป็นสาม ลักษณะใหญ่ๆ คือ

    2.1 ลักษณะนูนต่ำ (Bas Relief) คือผลงานที่มองได้ด้านเดียว แสดงความตื้นลึกของภาพ โดยมีความสูงต่ำ เพียงเล็กน้อย เช่น ลวดลายปูนปั้นบนสถูป และลายแกะสลักต่างๆ เป็นต้น

    2.2 ลักษณะนูนสูง (High Relief) สามารถมองเห็นได้ 3 ด้าน คือด้านหน้า และด้านข้างอีก ๒ ด้าน โดยมีความตื้นลึกที่แตกต่างกันมาก จนเห็นได้ชัดเจน เช่น ลายปูนปั้นบนหน้าบัน

    2.3 ลักษณะลอยตัว (Round Relief) สามารถมองเห็นได้รอบด้าน เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ต่างๆ รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาด้วย

    ประติมากรรมสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800-1918 เมืองสำคัญทางศิลปสมัยสุโขทัยมีเมืองสุโขทัย เก่า กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัยปรากฏโบราณสถานใหญ่โต มีศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนายุคแรกตามแบบสมัยลพบุรี คือ พุทธศาสนาแบบมหายาน ภายหลังพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหง วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรมมี ปูนเพชร ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ

    ตอบลบ